กางตำรากฎหมาย เลิกจ้างพนักงานกระทันหัน พนักงานควรได้รับการเยียวยาอะไรบ้าง
กางตำรากฎหมาย เลิกจ้างพนักงานกระทันหัน พนักงานควรได้รับการเยียวยาอะไรบ้าง

กรณีที่ บริษัท เจเอสแอล โกลบอล มีเดีย จำกัด JSL ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายใหญ่ของประเทศ ประกาศยุติกิจการและเลิกจ้างพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม
.
มีการจ่ายเงินชดเชยไม่เป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดตามอายุงาน ระบุว่า JSL จะจ่ายให้กับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง เพียงร้อยละ 16 ของเงินชดเชยทั้งหมดตามกฎหมาย
.
ซึ่งยอดเงินชดเชยเลิกจ้างที่ทางบริษัทต้องจ่ายให้ รวมเป็นเงินกว่า 31 ล้านบาท แต่ทางบริษัทบอกว่าจะให้เงิน 5 ล้านบาท ให้ไปแบ่งกันเอาเอง ซึ่งทางพนักงานเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบ และการที่ทางบริษัทฯ ไม่จ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างตามหลักเกณฑ์ ถือเป็นการไม่ปฎิบัติตามกฎหมายแรงงาน
.
ในประเด็นที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิการได้เงินลูกจ้างมีความประสงค์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตเมื่อกาง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ลูกจ้างมีสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ซึ่งการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง จะต้องจ่ายเงินชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดทันที
.
ขณะที่ตามมาตรา 124 เมื่อมีการยื่นคำร้องตาม มาตรา 123 ให้ พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงและมีคำสั่งภายใน หกสิบวันนับแต่วันที่รับคำร้อง
.
กรณีที่มีความจำเป็นไม่อาจมีคำสั่งภายในเวลาตาม ให้พนักงานตรวจแรงงานขอขยายเวลาต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายพร้อมด้วยเหตุผล และอธิบดีหรือผู้ ซึ่งอธิบดีมอบหมายอาจพิจารณาอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ครบกำหนด ตามวรรคหนึ่ง
.
เมื่อพนักงานตรวจแรงงานสอบสวนแล้วปรากฎว่าลูกจ้าง มีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้ นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรม ของลูกจ้าง ตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 15 นับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง
.
สำหรับการเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดหน้าที่ของนายจ้างและสิทธิของลูกจ้างกรณีการเลิกจ้าง ทั้งนี้โดยอาศัยหลักการตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่158 ที่กำหนดเรื่องการเลิกจ้าง คือ
.
1. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรที่เกี่ยวข้องกับความสามารถหรือพฤติกรรมของ ลูกจ้าง
.
2. ลูกจ้างจะต้องได้รับการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างหรือได้รับค่าชดเชยหรือการชดเชยแบบอื่นๆ เว้นแต่ลูกจ้างจะกระทำความผิดอย่างร้ายแรง
.
3. ในกรณีที่มีการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม หากนายจ้างไม่สามารถรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ลูกจ้างต้องได้รับเงินชดเชยอย่างเพียงพอ
.
จากหลักการเรื่องการเลิกจ้างตามอนุสัญญา ILO พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ทั้งนี้ การเลิกจ้างได้แก่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และการที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป โดยมีเจตนารมณ์ในการให้ความคุ้มครองลูกจ้างซึ่งต้องถูกเลิกจ้างให้ ได้รับค่าชดเชย ไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายให้ลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างเลิกกิจการ หรือ ลูกจ้างต้องออกจากงาน เพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดลง ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
.
🔵 ลูกจ้างลาออกจากงานโดยสมัครใจ
🔵 ลูกจ้างที่ทำสัญญากับนายจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนด ระยะเวลานั้น สำหรับงานที่ต้องแล้วเสร็จภายใน 2 ปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง และเป็นการจ้างงานใดงานหนึ่งที่ทำชั่วคราวในช่วงเวลาอันสั้นแล้วเสร็จสิ้นไป ซึ่งการว่าจ้างถือเอาความแล้วเสร็จของ งานเป็นสาระสำคัญในการกำหนดระยะเวลาการจ้าง ได้แก่งานดังต่อไปนี้
.
1. งานในโครงการเฉพาะที่ไม่ใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน เช่น งานค้นคว้าทดลอง หรืองานสำรวจวิจัยซึ่งอาจเป็นการทำลองผลิตสินค้าชนิดใหม่ก่อน ซึ่งงานเหล่านี้มิใช่งานที่ทำเป็นปกติธุระในกิจการของนายจ้างนั้น
2. งานที่มีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน
3. งานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาล
.
แต่ถ้าเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนในงานอื่นซึ่งไม่ใช่งาน 3 ประเภทข้างต้น ก็ไม่ใช่กรณียกเว้นเรื่อง ค่าชดเชยรวมทั้งไม่อยู่ในกรณียกเว้นตามมาตรา 119 ด้วย จะมีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยต่อเมื่อมีอายุงานตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้
.
🔵 ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
🔵 ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
🔵 ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วัน
🔵 ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน
🔵 ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 10ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 วัน
.
นอกจากนี้การเลิกจ้างครั้งนี้เป็นการเลิกจ้างบางส่วน ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจะได้รับสิทธิประโยชน์เงินทดแทน การขาดรายได้กรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน
.
🔵 หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์
.
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้มีสิทธิ คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน (ถูกเลิกจ้างหรือลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา) โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย
.
🔵 เงื่อนไขการเกิดสิทธิ์
.
🔵 ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น
🔵 มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้
🔵 ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
🔵 ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
🔵 ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี / ทุจริตต่อหน้าที่ /กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง / จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย / ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง / ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร / ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง / ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
🔵 ต้องไม่ใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
🔵 มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย
🔵 ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39
🔵 และยังคงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 38 กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย ต่อไปอีก 6 เดือน โดยไม่ต้องนำส่งเงินสมทบ
.
สำหรับลูกจ้างที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพได้ หรือหากต้องการใช้สิทธิประกันสังคมต่อ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ภายใน 6 เดือนหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
.
╔═══════════╗
📌 ปัญหาเกี่ยวกับคดีความอยากได้คำตอบเพื่อหาทางออก ปรึกษากับทนายความของเราแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะคดีเล็ก หรือคดีใหญ่ สามารถ inbox มาปรึกษาได้ ทนายออนไลน์ยินดีรับคำปรึกษาจากทุกท่าน
╚═══════════╝