PDPA ถ่ายรูป – คลิปคนทะเลาะกันได้ แต่ห้ามโพสต์ลงโซเชียล
PDPA ถ่ายรูป - คลิปคนทะเลาะกันได้ แต่ห้ามโพสต์ลงโซเชียล

เป็นประเด็นถกเถียงกันอีกแล้วสำหรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA เพราะอย่างที่เพิ่งมาข่าวล่าสุดว่ามีพลเมืองดีได้พยายามช่วยเหลือผู้อื่นที่โดนทำร้ายร่างกาย แต่สุดท้ายผู้ที่เป็นคนลงมือทำร้ายร่างกายและผู้เป็นเหยื่อ กลับจะฟ้องไปยังพลเมืองดี ที่นำคลิปดังกล่าวไปโพสต์ต่อ
.
สังคมเลยตั้งคำถามกลับว่าสรุปแล้วกฎหมาย PDPA เนี่ยไม่สามารถให้พลเมืองดีช่วยเหลือคนอื่นด้วยการถ่ายรูปหรือคลิปได้เลยหรืออย่างไร เพราะสุดท้ายเหมือนทำคุณบูชาโทษเสียงั้น
.
เรื่องนี้ต้องแยกเป็นประเด็นๆ คือ ประเด็นแรกการถ่ายคลิปผู้อื่นโดยไม่ได้รับการยินยอม แล้วนำไปโพสต์ลงโซเชียลต่อนั้น ไม่ว่าจะมีเจตนาดีหรือเจตนาประจานก็ตาม ก็ถือว่าผู้ถ่ายคลิปมีความผิด แต่อาจไม่ได้ผิดกฎหมาย PDPA โดยตรง แต่จะเป็นความผิดอื่นเช่น กฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล รวมทั้งผิด พรบ.คอมพิวเตอร์แทน
.
ประเด็นที่สองคือ สามารถถ่ายได้หรือไม่หากการกระทำผิดจริงๆ แล้วต้องการเก็บไว้เป็นหลักฐาน ในทางกฎหมายสามารถทำได้ หากพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้านั้นจำเป็นจะต้องใช้หลักฐานที่เป็นภาพหรือคลิปยืนยัน
.
แต่เมื่อถ่ายแล้วไม่ควรนำไปโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เพราะถ้าโพสต์เมื่อไหร่ ผิดกฎหมายแน่นอน เพราะถือว่าทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ต่อให้คนที่เราถ่ายจะทำผิดก็จริง แต่ผู้ถ่ายก็ไม่มีสิทธิ์โพสต์เพื่อประจาน
.
ควรเก็บคลิปไว้เป็นหลักฐานส่งให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อรวมรวมดำนเนินคดีแทนจะดีกว่า
.
ฉะนั้น สรุปง่ายๆ คือ ถ่ายได้ แต่ห้ามโพสต์ เพราะถ้าโพสต์ไม่ว่าเราจะมีเจตนาดีอย่างไรก็ตาม ถ้าบุคคลในภาพหรือคลิปได้รับความเสียหาย เราก็มีความผิดนั่นเอง