จะเล่นแชร์ทั้งทีหลายคนคงไม่รู้ว่าเล่นยังไงให้ถูกกฎหมาย เพราะที่ผ่านมาวงแชร์ล่ม เท้าแชร์เชิดเงินหนีก็เกิดมานักต่อนัก โดยเฉพาะพวกแชร์ลูกโซ่ ที่เป็นข่าวจนเกิดความเสียหายอยู่บ่อยครั้ง
.
ดังนั้นจะเล่นแชร์หาเงินหมุนกันทั้งทีจะต้องมีข้อสังเกต ข้อควรรู้อะไรบ้าง ทนายออนไลน์รวบรมมาให้ทำความเข้าใจกัน
.
วิธีเล่นแชร์ ไม่ผิดกฎหมาย
ห้ามนิติบุคคลเป็นท้าวแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ฝ่าฝืน : ปรับตั้งแต่ 1 เท่าหรือ 3 เท่าของกองกลางแต่ละงวดของทุกวงแชร์ ไม่น้อยกว่า 200,000 บาท และให้ศาลสั่งหยุดดำเนินการทันที
ห้ามโฆษณาหรือประกาศชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเล่นแชร์ ฝ่าฝืน : ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
.
ตั้งวงแชร์ได้ แต่ห้าม…
ห้ามตั้งวงแชร์รวมกันเกิน 3 วง
ห้ามมีสมาชิกทุกวงรวมกันเกิน 30 คน
ห้ามมีเงินกองทุนหรือเงินกองกลางต่อ 1 งวดรวมกันเกิน 300,000 บาท
ห้ามท้าวแชร์ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น นอกจากเงินกองกลางการเล่นแชร์เท่านั้น ฝ่าฝืน : – จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การเล่นแชร์จะตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับตั้งแต่ต้น (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150)
ท้าวแชร์จะฟ้องเรียกลูกแชร์ให้ชำระค่าแชร์ที่ยังไม่ชำระไม่ได้
.
เช็กข้อมูลของท้าวแชร์ และ สมาชิกร่วมวงแชร์ ก่อนเล่น เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อาชีพ ฐานะทางการเงิน บัญชีธนาคาร อาชีพ ฐานะทางการเงิน
.
ถูกโกงแชร์ แชร์แล้วหนี ทำไงดี!?!
ท้าวแชร์หนีหรือโกง
มีเจตนาทำวงแชร์ และสมัครใจแล่นแชร์กัน แต่บริหารผิดพลาด : สมาชิกวงแชร์ฟ้องร้องคดีแพ่งเรียกเงินคืนได้
ไม่มีเจตนาทำวงแชร์ และหลอกลวงตั้งใจเชิดเงินหนี : สมาชิกวงแชร์แจ้งความดำเนินคดีอาญาฐาน “ฉ้อโกง”
.
เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม เมื่อถูกท้าวแชร์โกง
.
หน้า Facebook , Page , Line ของท้าวแชร์ และคำเชิญชวนที่โพสต์ในออนไลน์
ข้อมูลของท้าวแชร์ เช่น บัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เบอร์โทรติดต่อ ที่อยู่
สเตทเมนต์พร้อมไฮไลท์ยอดที่โอนให้ท้าวแชร์ ให้ตรงกับสลิปที่โอนเงินให้
แยกยอดเงินระหว่างเงินส่งแชร์ และเงินที่ได้ดอกในวงแชร์ให้ชัดเจน
.
ลูกแชร์เปียแชร์แล้วหนี
วงแชร์ : ต้องดำเนินการให้มีการเล่นแชร์ต่อไป
.
ท้าวแชร์ : ต้องรับผิดชอบสำรองจ่ายแทน และฟ้องร้องคดีแพ่งไล่เบี้ยเงินจากลูกแชร์ที่หลบหนีหรือถ้าตั้งใจจะเชิดเงินตั้งแต่แรก ฟ้องร้องคดีอาญาฐาน “ยักยอกทรัพย์” (ตาม ป.อ. มาตรา 352)
.
โดนโกงแชร์แจ้งความที่ไหน?
แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ที่สถานีตำรวจ
ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ (การเล่นแชร์) สายด่วน 1359
แจ้งความร้องทุกข์องที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (มูลค่าความเสียหายเกินกว่า 5 ล้านบาท)
.
นอกจากนั้นสมัยนี้มีช่องทางการหารายได้หลากหลายรูปแบบ จึงเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพใช้เป็นอุบายมาหลอกล่อ ไม่ว่าจะเป็นบ้านออมเงิน ออมทอง หรือที่ฮิตที่สุดก็คือ “แชร์ลูกโซ่” นั่นเอง ขบวนการนี้มีเหยื่อถูกหลอกมากขึ้นทุกปี ทำให้เสียหายเงินทองแถมบางคนหวังปลดหนี้ แต่ต้องเป็นหนี้เพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว วันนี้มารู้เท่าทันวิธีการหลอกลอง ของขบวนการนี้กันดีกว่า จะได้ระวังตัวได้ทันก่อนที่จะหมดตัว
.
วิธีสังเกต ขบวนการแชร์ลูกโซ่
ถูกชักชวนจากสื่อโซเชียลต่าง ๆ
อ้างถึงบุคคลที่ประสบความสำเร็จ จากการที่เข้าร่วมลงทุน
อ้างหลักฐานผลประโยชน์ และเงินจำนวนมากที่ได้รับ
ใช้โฆษณาชวนเชื่อ
ลงทุนน้อย แต่ได้รับผลประโยชน์สูงในระยะเวลาอันสั้น
จัดฉากการอบรมสัมมนา แสดงถึงความสำเร็จ
ผู้ที่ลงทุน ต้องหาสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
.
เจอแบบนี้เป็นขบวนการแชร์ลูกโซ่แน่นอน พบเห็นแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน กรมสอบสวนคดีพิเศษ โทร.1202 หรือ
.
ปัญหาเกี่ยวกับคดีความอยากได้คำตอบเพื่อหาทางออก ปรึกษากับทนายความของเราแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะคดีเล็ก หรือคดีใหญ่ สามารถ inbox มาปรึกษาได้ ทนายออนไลน์ยินดีรับคำปรึกษาจากทุกท่าน