จากข่าวน่าเศร้าสลด กรณีแผ่นคานปูนหนัก 5 ตันของสะพานกลับรถเหนือถนนพระราม 2 ก.ม.ที่ 34 ตรงข้ามโรงพยาบาลวิภาราม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร หล่นทับรถยนต์ที่วิ่งผ่านบริเวณนั้น ประมาณสามทุ่มของวันที่ 31 กรกฎหาคม 2565 หลังเกิดเหตุมีผู้เสียชีวิต 3 คน และบาดเจ็บสาหัส 1 คน รวมถึงรถยนต์และทรัพย์สินอื่นเสียหาย
.
กรณีแบบนี้ใครต้องรับผิดชอบบ้าง ทั้งความผิดทางอาญา และทางแพ่ง
.
แน่นอนว่าหากสืบสวนได้ข้อเท็จจริงว่าความเสียหายครั้งนี้เกิดจากความประมาทของผู้ใดที่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซ่อมแซมสะพานกลับรถที่เกิดเหตุนี้ บุคคลเหล่านั้นย่อมต้องร่วมกันรับผิดด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นคนงานที่ปฏิบัติงานและหัวหน้างาน วิศวกรก่อสร้าง และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
.
ซึ่งความผิดทางอาญาที่ผู้ประมาทเหล่านี้ต้องรับผิด ได้แก่ ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 และมาตรา 300 อันมีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท และจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ส่วนความผิดทางแพ่ง เป็นความผิดเรื่องละเมิด จากประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน ซึ่งผู้ละเมิดทั้งหมดทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายทั้งหมดแก่ผู้เสียหายและทายาทผู้เสียชีวิต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ประกอบมาตรา 432 วรรคแรก ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าขาดประโยชน์ที่ไม่สามารถทำมาหาได้ก่อนเสียชีวิต ค่าขาดไร้อุปการะ ค่าปลงศพ และอาจรวมถึงค่าเสียหายต่อสภาพจิตใจด้วย
.
ปัญหาคือแบบนี้บริษัทที่เป็นนายจ้างที่รับจ้างซ่อมแซมสะพานกลับรถที่เกิดเหตุนี้ต้องร่วมรับผิดชอบตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรนั้น
.
ในเป็นทางอาญา หากตัวนายจ้างเป็นผู้คุมงานเอง ออกคำสั่งให้กระทำการจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุนี้ขึ้น ก็ถือเป็นตัวการร่วมที่ต้องรับผิดอาญาฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไปด้วยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ประกอบมาตรา 83
.
ในทางแพ่ง เมื่อลูกจ้างของตนกระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างของตนที่กระทำไปในทางการที่จ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 โดยนายจ้างต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกจ้างที่กระทำโดยประมาทด้วยทุกคน ใน