หมาไปกัดผู้อื่นเจ้าของมีความผิด เว้นแต่พิสูจน์ว่าได้ดูแลป้องกันอย่างดี เจ้าของ “ไม่ต้องรับผิดชอบ” ค่าสินไหมทางแพ่ง
หมาไปกัดผู้อื่นเจ้าของมีความผิด เว้นแต่พิสูจน์ว่าได้ดูแลป้องกันอย่างดี เจ้าของ "ไม่ต้องรับผิดชอบ" ค่าสินไหมทางแพ่ง

เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เกิดขึ้นอีกแล้ว สำหรับกรณีหมาพิตบูลน้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม กัดเด็กอายุเพียง 2 ขวบ ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทั้งกรามหัก และมีแผลฉีกขาดที่แก้มและศีรษะ จนต้องเย็บแผลถึง 200 เข็ม
.
ซึ่งเหตุเกิดจากเจ้าของหมา เปิดประตูบ้านเพื่อจะนำขยะมาทิ้ง แต่ไม่ได้ล่ามหมาพิตบูลไว้ ทำให้หมาดังล่าววิ่งทยานออกมาไล่กัด พี่เลี้ยงเด็ก และเด็กอีกสองคน อายุ 4 ขวบ และ 2 ขวบ โดยพี่เลี้ยงและเด็กคนพี่วิ่งหลบได้ทัน หมาพิตบูลจึงกัดเด็กคนน้องจนได้รับบาดเจ็บเป็นแผลฉกรรจ์หลายจุด
.
กรณีเช่นนี้ ตามกฎหมายจะมีอยู่สองแง่มุม คือ
.
🔵 มุมทางกฎหมายแพ่ง จะเป็นกรณีที่เจ้าของหมาต้องรับผิดทางละเมิด ในฐานที่ความเสียหายร่างกายเด็กเกิดขึ้นเพราะสัตว์ที่ตนเป็นเจ้าของ โดยไม่ต้องพิจารณาเลยว่าเจ้าของได้จงใจหรือประมาทให้หมาออกมากัดบุคคลอื่นหรือไม่ ซึ่งทางกฎหมายเรียกว่า ความรับผิดเด็ดขาด แต่กฎหมายก็มีข้อยกเว้นให้ว่า หากเจ้าของหมาพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังอันสมควรแก่การเลี้ยงตามชนิดและวิสัยของสัตว์นั้นแล้ว แม้จะเกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นขึ้นก็ไม่ต้องรับผิด
.
เช่น หมาตัวนี้เป็นพันธุ์พิตบูล(ชนิด)และมีนิสัยดุร้าย(วิสัย) เจ้าของจึงขังไว้ในกรงหรือล่ามไว้ดีแล้ว แต่หมายังพังกรงหรือกระชากสายล่ามขาดจนออกไปกัดคนอื่นได้อีก แบบนี้เจ้าของไม่ต้องรับผิด ซึ่งจากข้อเท็จจริงในข่าว เจ้าของหมาไม่ได้ล่ามหมา แล้วยังเปิดประตูทิ้งไว้จนหมาออกมากัดเด็ก จึงไม่อาจอ้างข้อยกเว้นนี้ได้ เจ้าของหมาต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เด็ก อันได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอื่นเนื่องจากการรักษาพยาบาล เช่น ค่าเดินทาง
.
ซึ่งหากเวลาที่พิพากษาคดี ยังไม่อาจรู้ว่าจะมีการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นภายหลังอีกหรือไม่ ศาลยังอาจพิพากษาให้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพิ่มในอนาคตได้ภายในเวลา 2 ปี นอกจากนี้ยังเรียกค่าสินไหมทดแทนอันมิใช่ตัวเงิน ได้แก่ ค่าสินหายทางจิตใจได้อีกจากการเสียขวัญของเด็ก
.
🔵 ส่วนมุมทางกฎหมายอาญานั้น การกระทำของเจ้าของหมาอาจเป็นความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 เนื่องจากหมาตัวนี้เคยมีประวัติกัดคนอื่นมาแล้ว เจ้าของหมาก็ต้องระมัดระวังหมาของตนให้มากขึ้น ซึ่งสามารถป้องกันเหตุได้ด้วยความเป็นผู้ที่เข้าใจในนิสัยของหมาตนดี แต่ก็ไม่ได้ทำให้เพียงพอจนเกิดเหตุขึ้น อันถือเป็นการกระทำโดยประมาท เมื่อเกิดความเสียหายเป็นอันตรายสาหัส
.
ซึ่งกฎหมายกำหนดลักษณะไว้ในประมวกฎหมายอาญา มาตรา 297 วรรคสอง ได้แก่ ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด เสียอวัยวะสืบพันธุ์ เสียแขน ขา มือ เท้า อวัยวะอื่น หน้าเสียโฉมติดตัว แท้งลูก จิตพิการติดตัว ทุพพลภาพ หรือบาดเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน โดยกรณีนี้น่าจะ
.
เป็นบาดเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน อย่างนี้เจ้าของหมาอาจต้องรับโทษทางอาญาในความผิดนี้ด้วย
.
🔵 นอกจากนี้หากมีข้อเท็จจริงว่า เจ้าของหมาไม่ได้สนใจดูแลหมาของตน จนหมาออกไปกัดคนอื่น เจ้าของอาจผิดฐานละทิ้งสัตว์ให้พ้นจากการดูแลโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 มาตรา 20
.
🔵 ส่วนคนที่เข้าไปช่วย โดยไล่ตีหมานั้น ก็ไม่ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์ เนื่องจากมีการวางหลักว่า การทำร้ายหรือฆ่าสัตว์เพื่อป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์ หรือสัตว์อื่น หรือป้องกันความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ไม่เป็นการทารุณกรรมสัตว์ ซึ่งกฎหมายเขียนไว้ในมาตรา 21 (6) แห่งพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557
.
ท้ายนี้ในกรณีดังกล่าวจึงเป็นข้อเตือนใจผู้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายตามสายพันธุ์และมีกำลังทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับอันตรายได้ ต้องศึกษาพฤติกรรมสัตว์และมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายเช่นนี้ขึ้นอีก มิฉะนั้น ทุกฝ่ายจะได้รับความเสียหายทั้งสิ้น ไม่ว่าผู้ที่บาดเจ็บ เจ้าของต้องเสียเงิน เสียเวลา จนอาจเสียอิสรภาพ ส่วนตัวสัตว์ก็อาจได้รับผลกระทบไปด้วยจากการไม่ได้รับการรับเลี้ยงต่อ
.
╔═══════════╗
📌 ปัญหาเกี่ยวกับคดีความอยากได้คำตอบเพื่อหาทางออก ปรึกษากับทนายความของเราแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะคดีเล็ก หรือคดีใหญ่ สามารถ inbox มาปรึกษาได้ ทนายออนไลน์ยินดีรับคำปรึกษาจากทุกท่าน
╚═══════════╝