หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ถูกบูลลี่” มาบ้างแล้ว โดยเฉพาะการถูกบูลลี่ บนโลกโซเชียล หรือบนโลไซเบอร์
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ถูกบูลลี่” มาบ้างแล้ว โดยเฉพาะการถูกบูลลี่ บนโลกโซเชียล หรือบนโลไซเบอร์

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ถูกบูลลี่” มาบ้างแล้ว โดยเฉพาะการถูกบูลลี่ บนโลกโซเชียล หรือบนโลไซเบอร์
.
หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ที่โหดร้าย การถูกทำให้เป็นตัวตลก เพื่อนแอนตี้ทุกเรื่อง อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า จนบางรายเลือกที่จะจบชีวิตตนเองเพราะมองไม่เห็นทางออกอื่น
.
การระรานหรือ Bully แบบนี้มีมานานแล้ว แต่เทคโนโลยีหรือโลกไซเบอร์ โซเชียลมีเดีย กลับทำให้เรื่องนี้เลวร้ายกว่าเดิม!!
.
cyberbullying คือ “การกลั่นแกล้งกันผ่านโลกไซเบอร์” โดยรูปแบบการรังแกกันมีทั้งการใส่ร้ายป้ายสี การใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อว่าผู้อื่นหรือการส่งต่อข้อมูลลับ เพื่อทำให้ผู้อื่นเสียหายผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความ (text message) คลิปวิดีโอ (video-clip) รูปภาพ (picture) email เพื่อทำให้ฝ่ายที่ถูกกระทำรู้สึกอับอาย รู้สึกเจ็บปวด ได้รับผลกระทบทางจิตใจ
.
สมัยก่อน โดนล้อว่า “อ้วนดำ” ก็จบตรงนั้น ในห้องเรียน ในโรงเรียน กับเพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ ไม่กี่สิบคน แต่สมัยนี้ มีการใช้ภาพประกอบ ตัดต่อ แต่งภาพ ให้ดูน่าเกลียดหรือดูตลกกว่าเดิม มีการก๊อปปี้ถ้อยคำกลั่นแกล้งเป็นพัน ๆ ครั้ง มีคนมาเขียนคอมเมนต์ซ้ำเติม แล้วแชร์วนไปในโซเชียลมีเดีย เรียกว่าเป็น Cyberbullying เหมือนถูกทำร้ายจากคนเป็นพันเป็นหมื่นซ้ำแล้วซ้ำเล่า และอาจแพร่กระจายไปได้เป็นล้านคนในเวลาไม่นาน โดยการทำร้ายยังคงอยู่อย่างนั้น เปิดไปเมื่อไรก็เจอ
.
ในทางกฏหมายนั้น แม้จะยังไม่มีกฏหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง แต่ปัจจุบัน ก็พอมีกฏหมายอื่นๆ พอนำมาปรับใช้ได้เช่น
.
ประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 397 ใจความว่า “ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มแหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
.
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำในที่สาธารณะหรือต่อหน้าธารกำนัลหรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทางที่ล่วงละเมิดทางเพศ ต้องละวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคสองเป็นการกระทำโดยอาศัยเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจเหนือผู้ถูกกระทำอันเนื่องจากความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชา นายจ้าง หรือผู้มีอำนาจเหนือประการอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท” ซึ่งดูว่าอัตราโทษอาจจะยังดูไม่สมกับพฤติกรรมเท่าใดนัก
.
และยังมีความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจําคุก
ไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
.
นอกจากนี้ หากมีการตัดต่อภาพ ก็อาจเข้าฐานความผิดตาม รบ.คอมพิวเตอร์ ได้อีก เช่น มาตรา 16 “ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท…”
.
และถ้าการบูลลี่นั้น กระทำต่อเด็กแล้ว เราอาจจะต้องนำ พรบ.คุ้มครองเด็กมาพิจารณาปรับใช้ด้วย เช่น มาตรา 26 อนุ 1 ที่มีใจความว่า
.
มาตรา 26 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการ ดังต่อไปนี้
.
(๑) กระทําหรือละเว้นการกระทําอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
…………..
ซึ่งจะมีอัตราโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
การบูลลี่นั้น เป็นเรื่องที่สังคมควรจะให้ความสนใจและช่วยกันให้สิ่งเหล่านี้หายไปจากสังคม มีเหยื่อหลายคนต้องกลายเป็นโรคซึมเศร้า กลายเป็นคนมีปมด้อย และอาจส่งผลร้ายแรงที่สุดในการฆ่าตัวตาย หรือก่อเหตุความรุนแรงได้อย่างคาดไม่ถึง
.
📌 ปัญหาเกี่ยวกับคดีความอยากได้คำตอบเพื่อหาทางออก ปรึกษากับทนายความของเราแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะคดีเล็ก หรือคดีใหญ่ สามารถ inbox มาปรึกษาได้ ทนายออนไลน์ยินดีรับคำปรึกษาจากทุกท่าน