ถ้าคนทำผิด ‘หน้าตาดี’ คนเราก็มีความคิดลำเอียง
งานวิจัยต่างชาติเผย มีโอกาสถูกให้อภัยสูงกว่า
.
คนหน้าตาดีมักมีชัยไปกว่าครึ่ง ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องที่แปลกสำหรับมนุษย์ที่ชื่อชอบในความสวยงามของเปลือกกายภายนอก คนที่หน้าตาดี รูปร่างดี หล่อ สวย มักจะได้รับความสนใจ หรือได้รับโอกาสที่ดีกว่าคนที่หน้าตาธรรมดา หรือไม่หล่อไม่สวยแบบพิมพ์นิยม ที่อาจจะต้องใช้ความสามารถที่สูงกว่าเพื่อคนโดดเด่น และน่าสนใจกว่าเข้าสู้
.
ไม่ใช่แค่เรื่องของโอกาสทางสังคมเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์จากสิ่งที่พ่อแม่ให้มาแต่กำเนิด หรือหมอศัลยกรรมที่คลอดออกมาจากคลินิก แต่ถ้าหากคนเล่านี้เกิดกระทำความผิด เช่น ก่อคดีต่างๆ ทั้งที่ตั้งใจหรือแค่ประมาทเลินเล่อ ก็มักจะได้รับความเห็นอกเห็นใจ หรือถึงขั้นให้อภัยได้ง่ายกว่า
.
ผู้เขียนจะไม่ได้พูดถึงเรื่องกระบวนการตัดสินทางกฎหมาย เพราะถึงอย่างไร คนหล่อคนสวย กับคนขี้เหร่ (อันนี้ไม่ได้บูลลี่เรื่องรูปลักษณ์) ก็ต้องได้รับโทษทางกฎหมายเหมือนกันหากกระทำความผิด ซึ่งจะหนักจะเบาก็อยู่ที่มูลความผิด และดุลพินิจของผู้บังคับใช้กฎหมาย แต่จะพูดในเชิงจิตวิทยาว่า ความรู้สึกลำเอียงแบบนี้มันมีอยู่จริงในหมู่มวลมนุษย์ด้วยกัน
.
PHYSICAL ATTRACTIVENESS BIAS IN THE LEGAL SYSTEM หรือ อคติความน่าดึงดูดใจทางกายภาพในระบบกฎหมาย เป็นงานวิจัยที่ทางนักจิตวิทยาและทีมนักกฎหมายในสหรัฐฯ ได้กว่าถึงกระบวนการยุติธรรมที่จะตัดสินคนๆ หนึ่งและทัศนคติบริบทของสังคมต่อการกระทำผิดของบุคคล พบว่า ผลกระทบของความดึงดูดใจทางร่างกายที่มีต่อคณะลูกขุน และผู้พิพากษานั้นมีอิทธิพลมาก ที่สามารถทำให้อาชญากรที่หน้าตาไม่ดี ให้ได้รับโทษสูงกว่าอาชญากรที่หน้าตาดีมีเสน่ห์ได้มากถึง 304.88%
.
ในทางกฎหมายความน่าดึงดูดใจในเรื่องรูปลักษ์อาจมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีผลใดๆ ต่อคำตัดสินของผู้พิพากษาในเรื่องความผิด อาชญากรที่หน้าตาดีและหรือขี้เหร่ก็ถูกตัดสินลงโทษอย่างเท่าเทียมกันก็ตาม แต่ก็มีผลทางจิตวิทยาบางอย่างที่ทำให้ผู้บังคับใช้กฎหมาย ที่ก็อยู่ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งสามารถเอนเอียงหรือผ่อนปรนคำตัดสินได้เหมือนกัน
.
โดยทั่วไปแล้วคนที่หน้าตาดีมักจะถูกมองว่าฉลาดกว่า มีทักษะทางสังคมมากกว่า มีบุคลิกที่น่าดึงดูดใจมากกว่า มีศีลธรรมมากกว่า เห็นแก่ผู้อื่นมากกว่า มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากกว่า ได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้จัดการมากกว่า และมีความสามารถมากกว่า คนที่มีเสน่ห์ดึงดูดมักจะมีสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น มีประสบการณ์การออกเดทที่ดีขึ้น หารายได้มากขึ้น ได้ตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ได้รับเลือกให้ทำงานบ่อยขึ้น ได้รับการเลื่อนตำแหน่งบ่อยขึ้น ได้รับการประเมินงานที่ดีขึ้น และได้รับเลือกให้เป็นหุ้นส่วนธุรกิจบ่อยกว่า คนที่ไม่หล่อไม่สวย
.
ผลการศึกษาที่เป็นการวิจัยที่ดำเนินการโดย Downs and Lyons จุดประสงค์ของการศึกษานี้คือเพื่อค้นหาความเชื่อมโยงระหว่างความน่าดึงดูดใจของอาชญากรกับผลการพิจารณาพิพากษา
.
จากกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจและนักเรียนเพื่อประเมินความน่าดึงดูดใจของอาชญากรกว่า 2,000 คน ใช้มาตราส่วน 1 – 5 และคะแนนส่วนใหญ่ใกล้เคียงกัน
.
จากนั้น คำตัดสินของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ความผิดทางแพ่งและความผิดทางอาญา โดยความผิดทางอาญาก็แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามความรุนแรงของอาชญากรรม
.
ผลลัพธ์ก็คือ ผู้พิพากษามีการลงโทษอาชญากรที่หน้าตาไม่ดีมากกว่าอาชญากรที่น่าตาดีอย่างมีนัยสำคัญ โดยอัตราโทษมีการปรับเพิ่มขึ้นทีละน้อยเมื่อความน่าดึงดูดใจลดลง
.
1. ความผิดเล็กน้อย = +224.87%
2. ความผิดปานกลาง = +304.88%
3. ความผิดร้ายแรง = + 174.78%
.
ไม่เพียงเท่านั้น ผลวิจัยการพิจารณาคดีในศาลเมืองเพนซิลเวเนียและฟิลาเดลเฟีย ยังเผยอีกว่า ยิ่งผู้กระทำความผิด “หน้าเด็ก” หรือดูอ่อนกว่าวัยมากเท่าไหร่ อัตราโทษก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกัน และผู้กระทำความผิดที่เป็นชาวผิวสีอื่นๆ หรือเชื้อชาติอื่นๆ ที่ไม่ใช่คนผิวขาวก็ได้รับความเห็นใจไม่เท่าเทียมกัน
.
ยิ่งผู้ใหญ่หน้าเด็กมากเท่าไร โอกาสที่เขาหรือเธอจะถูกพบว่ามีความผิดใน “การกระทำโดยเจตนา” ในการเรียกร้องทางแพ่งก็จะน้อยลงเท่านั้น
.
ส่วนในแคนาดานักวิจัยพบว่าเมื่อเหยื่อเที่ป็นผู้บริสุทธิ์และมีเสน่ห์น่าดึงดูด จำเป็นต้องมีหลักฐานน้อยลงในการหาว่าจำเลยมีความผิด ในทางกลับกัน เมื่อเหยื่อไม่สวยไม่หล่อ จำเป็นต้องใช้ความพยายามหาหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อกล่าวหาว่าจำเลยมีความผิด
.
ในการพิจารณาคดีของคณะลูกขุนจำลองการคดีข่มขืน เหยื่อที่น่าดึงดูดมีแนวโน้มที่จะถูกเชื่อว่าเป็นเหยื่อของการข่มขืนมากกว่าเหยื่อที่ไม่สวย เหยื่อที่ไม่สวยมีเชื่อน้อยกว่าและคิดว่าจะยั่วยุผู้ข่มขืนอีกด้วย
.
นี่เป็นเพียงงานวิจัยในต่างประเทศที่เกิดขึ้นจากการรวบรวมมาเล่าให้ได้ทราบว่า ทำไมรูปลักษณ์ภายนอกถึงมีผลต่อความรู้สึกของผู้คน แม้ว่าอัตราโทษจะต้องได้รับเหมือนกัน แต่ในทางจิตวิทยาแล้วก็มีบางส่วนที่ทำให้เกิดการลำเอียงได้
.
ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไมพอสังคมเห็นคนหน้าตาดีกระทำความผิดแล้ว มักลงเอยด้วยความเห็นอกเห็นใจ เช่น หล่อจังไม่น่าทำเลย เสียดายจังอยากรับโทษแทน หล่อจังมาข่มขืนฉันสิฉันยอม หรือแม้แต่กรณีของหมอกระต่ายที่เสียชีวิตจากการถูกรถมอเตอร์ไซค์ชน แต่ก็มีนักโซเชียลเกรด 1 ที่ไปโทษผู้ตายว่าไม่ระวังเอง แต่กลับเข้าข้างผู้กระทำความผิดเพียงเพราะหน้าตาดี
.
ใครมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความแล้วอยากปรึกษาเพื่อหาทางออกกับทนายความแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะคดีเล็ก หรือคดีใหญ่ ก็ทัก inbox มาปรึกษาได้ ทนายออนไลน์ยินดีรับคำปรึกษาจากทุกท่าน