นายจ้างต้องรู้ วิธีจัดการลูกจ้างเบิกเงินล่วงหน้า แต่พอได้เงินกลับหนีหาย ติดต่อไม่ได้ ไม่มาทำงาน
นายจ้างต้องรู้ วิธีจัดการลูกจ้างเบิกเงินล่วงหน้า แต่พอได้เงินกลับหนีหาย ติดต่อไม่ได้ ไม่มาทำงาน

นายจ้างต้องรู้ วิธีจัดการลูกจ้างเบิกเงินล่วงหน้า
แต่พอได้เงินกลับหนีหาย ติดต่อไม่ได้ ไม่มาทำงาน
.
ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาคงเป็นช่วงที่ใครๆ ก็อยากใช้เงินกันทั้งนั้น เพราะจะได้ไปเที่ยว สังสรรค์ หรือซื้อของกลับไปฝากญาติมิตรที่ต่างจังหวัด เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่ควรมีเงินใช้คล่องมือ
.
นายจ้างที่อาจเป็นกิจการไม่ได้ใหญ่มาก ไม่ได้มีระบบโบนัส หรือมีการจ้างลูกจ้างแบบสัญญาจ้างชั่วคราว ก็มักจะต้องเตรียมเงินก้อนนึงเอาไว้เผื่อว่าลูกจ้างจะมาขอเบิกเงินล่วงหน้าไปใช้ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ช่วงเทศกาลก็จะมีเงินก้อนนี้สำรองเอาไว้ในกรณีที่ลูกจ้างต้องเบิกเงินฉุกเฉิน
.
นายจ้างที่ใจดีหน่อยก็ย่อมให้ลูกจ้างเบิกเงินล่วงหน้า แต่เชื่อว่าคนใจดีในสังคมมักจะโดนเอาเปรียบจากคนไม่ดีบ่อยครั้ง โดยเฉพาะกับลูกจ้างบางประเภทที่พอตอนมาขอเบิกเงินล่วงหน้าก็ตีหน้าเศร้าเล่าความจำเป็นต่างๆ นาๆ เพื่อให้ได้เงิน แต่พอได้เงินดังใจต้องการแล้วกลับเชิดเงินหนีหาย ไม่ยอมกลับมาทำงาน ทำเอานายจ้างดีๆ ต้องปวดหัวกันมานักต่อนัก
.
ฉะนั้นในบทความนี้ทนายออนไลน์มีวิธีแก้เผ็ดกับลูกจ้างนิสัยแย่ เพื่อที่จะได้เอาไว้รับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวเองในอนาคต
.
สมมุติว่าลูกจ้างมาขอเบิกเงินเดือนล่วงหน้า 1 เดือน 20,000 บาท โดยมีการจ้างงานตามสัญญาจ้างทั่วไป ตามวันและเวลาการปฏิบัติงาน เมื่อเราในฐานะนายจ้างก็อนุมัติให้เงินแล้ว ลูกจ้างได้เงินไปแล้วกลับเงียบหาย ไม่ยอมกลับมาทำงานตามสัญญา
.
ยังไม่พอเมื่อมีการติดตามทวงถามกลับถูกข่มขู่จะทำร้ายร่างกายอีกด้วย แบบนี้ถือว่าลูกจ้างมีความผิดเต็มๆ
.
เมื่อมีสัญญาจ้างแรงงานเกิดขึ้นแล้ว นายจ้างมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง และลูกจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานตอบแทนการจ้าง
.
ดังนั้น เมื่อนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง แต่ลูกจ้างไม่มาทำงาน เพื่อตอบแทนเงินค่าจ้าง ลูกจ้างจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญา หากลูกจ้างหายไปไม่มาทำงานอีกเลย นายจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินค่าจ้างคืน พร้อมค่าเสียหาย(หากมี)
.
ความจริงนายจ้างต้องฟ้องศาล แต่กรณีของลูกจ้างที่มีจำนวนเงินซึ่งถูกเชิดหายไป 20,000 บาท หากฟ้องร้องเป็นคดีกันจะไม่คุ้ม เพราะค่าจ้างทนายก็เกินแล้ว อาจจะไม่คุ้มเสียทั้งเงินจ้างทนาย เสียทั้งเวลา
.
วิธีแรกที่นายจ้างควรทำคือ ให้ทนายออกโนติ๊สไปยังลูกจ้าง เพื่อบอกเลิกสัญญาจ้าง และเรียกเงินคืน เพื่อวัดใจว่าลูกจ้างจะจ่ายหรือไม่ เพราะเอาเข้าจริงแล้วถ้ามีหนังสือจากทนายไปถึงที่บ้าน คนส่วนใหญ่มักจะตกใจกลัวว่าจะโดนฟ้อง แล้วจะรีบติดต่อกลับมาขอเจรจา
.
ซึ่งปกติแล้วทนายคิดค่าออกโนติ๊สฉบับละ 2,000 บาท ซึ่งก็ถือว่าไม่ได้แพงมาก และยังเป็นการชี้แจงอย่างเป็นทางการจากฝ่ายกฎหมายที่มีเอกสารให้เห็นกันชัดๆ ซึ่งจะได้ผลกว่าการไปพูดทวงถามโดยปากเปล่า หากคุยกันแล้วไม่รู้เรื่อง
.
แต่ถ้าหากอยากจะฟ้องศาลจริงๆ ก็สามารถทำได้ แต่ก็ต้องทำใจว่ามันก็คงไม่คุ้มค่าแน่ๆ เพราะจำนวนเงินมันไม่ได้มากพอ แต่ก็จะมีนายจ้างบางประเทศที่ต้องการเล่นเกมแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน เพื่อสั่งสอนคนบางคนเป็นบทเรียนโดยที่ไม่สนว่าจะเสียมากเสียน้อย ถ้าแบบนั้นก็จัดหนักไปเลยก็ได้ ไปสู้กันในศาล ซึ่งอาจจะเรียกในส่วนของค่าเสียเวลา ค่าสินไหมทดแทนใดๆ ที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ แล้วก็ไปให้ศาลท่านเคลียร์ให้ ซึ่งฟ้องยังไงก็ชนะ แต่ถามว่าคุ้มมั้ยตอบเลยว่า ไม่ แต่ถ้าทำเพื่อเอาสะใจ ก็จัดไปให้เต็มแม็กเลย
.
📌 ใครมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความแล้วอยากปรึกษาเพื่อหาทางออกกับทนายความแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะคดีเล็ก หรือคดีใหญ่ ก็ทัก inbox มาปรึกษาได้ ทนายออนไลน์ยินดีรับคำปรึกษาจากทุกท่าน