ฝ่ายบุคคลเผยเงินเดือนหลุดไปถึงพนักงานคนอื่น
ต่อให้ไม่ตั้งใจ หากเกิดความเสียหายก็ฟ้องได้
.
เรื่องของ “เงินเดือน” ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่รับรู้ได้เพียงแค่ตัวเรา และบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องถูกนำมาเปิดเผยต่อผู้อื่น โดยเฉพาะกับเพื่อร่วมงาน หรือพนักงานในบริษัทเดียวกันที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายได้นี้
.
แน่นอนว่าจะมีอยู่ไม่กี่คนในองค์กรที่เราทำงานจะรู้ว่าเงินเดือนของเราเท่าไหร่ เช่น หัวหน้างานที่รับเราเข้าทำงานแล้วต่อรองเงินเดือน ฝ่ายบุคคลที่จะรู้ฐานเงินเดือนของพนักงานทุกคน หรือแม้แต่ฝ่ายการเงิน รวมทั้งเจ้าของบริษัทผู้ที่อนุมัติเงินเดือน
.
แต่ถ้าเกิดมีเจ้าพนักงานที่ต้องเก็บความลับเรื่องเงินได้ของพนักงานคนอื่นๆ เช่น ฝ่ายบุคคลกลับทำข้อมูลการเงินของพนักงานหลุดออกมาสู้คนอื่นๆ ในบริษัทเสียเอง จนผู้ที่ถูกเปิดเผยข้อมูลรู้สึกได้รับความเสียหาย จะสามารถดำเนินการทางกฎหมายได้หรือไม่ ทนายออนไลน์มีคำตอบ
.
ปกติหากฝ่ายบุคคลทำงานผิดพลาด ขนาดทำให้ข้อมูลเงินเดือนถูกเปิดเผยไปยังพนักงานในบริษัท ถือว่าเป็นการกระทำความผิดอย่างร้ายแรง บริษัทสามารถบอกเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับข้อบังคับการทำงานของบริษัทด้วย แต่เชื่อเถอะว่าเรื่องแบบนี้บริษัทคงลงโทษเด็ดขาดแน่ๆ
.
แต่ในส่วนของตัวลูกค้า หากจะใช้สิทธิทางกฎหมายก็สามารถยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาลได้ หากการกระทำดังกล่าวของฝ่ายบุคคลทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อลูกค้า ส่วนค่าเสียหายจะเรียกร้องได้เพียงใด ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่ลูกค้าจะนำสืบต่อศาล เพราะศาลจะพิพากษาตัดสินให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายตามที่ลูกค้าได้รับความเสียหายจริง หรือหากไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่ศาลเห็นว่าการกระทำดังกล่าวทำให้ลูกค้าเสียหาย ศาลอาจใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าเสียหายให้แก่ลูกค้าได้
.
สรุปคือ เราสามารถเอาผิดทางกฎหมายได้ และบริษัทสามารถดำเนินการให้ออกได้เช่นกัน ฉะนั้นใครที่ทำหน้าที่นี้ต้องพึงระวังเสมอว่าข้อมูลทางการเงินที่มันเป็นความลับส่วนบุคคล ก็ต้องอยู่ในที่ลับ หรือสะเพร่า หรือจงใจปล่อยออกมาให้ผู้อื่นรับทราบเด็ดขาด
.
หาใครมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความแล้วอยากปรึกษาเพื่อหาทางออกกับทนายความแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะคดีเล็ก หรือคดีใหญ่ ก็ทัก inbox มาปรึกษาได้ ทนายออนไลน์ยินดีรับคำปรึกษาจากทุกท่าน