หลักเกณอะไรที่กำหนดว่าเป็น “ทรัพย์มรดกของผู้ตาย”
หลักเกณอะไรที่กำหนดว่าเป็น “ทรัพย์มรดกของผู้ตาย”

หลักเกณอะไรที่กำหนดว่าเป็น “ทรัพย์มรดกของผู้ตาย”
ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย มีกี่ประเภท

.

คนเราในยามที่มีชีวิต ส่วนใหญ่ก็ต้องสร้างทรัพย์สิน เงินทอง บ้าน ที่ดิน และอื่นๆ ที่จะกลายเป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลาน คนในวงศ์ตระกูล ในยามเสียชีวิตไปแล้ว ที่เรียกว่า “ทรัพย์มรดก” คือ ทรัพย์สินของคนตาย ซึ่งจะได้มรดกก็ต่อมเมื่อเจ้าของมรดกเสียชีวิตไปแล้ว
.
แต่ถ้าหากเจ้าของทรัพย์สินยังไม่ตาย ทรัพย์สินนั้นก็จะยังไม่ใช่มรดกที่จะตกทอดไปยังทายาท
.
ดังนั้นผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะที่มีชีวิตอยู่ สามารถจะจัดการทรัพย์สินของตัวเองอย่างไรก็ได้ พอใจใครจะยกให้โดยเสน่หาก็ทำได้ หรือจะขายจะโอนให้กับใครก็ได้ ตามแต่ที่เจ้าของทรัพย์สินต้องการ
.
แต่หากเจ้าของทรัพย์สินเสียชีวิตปุ๊บ ทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะนั้น จะกลายเป็นมรดกไปโดยทันที การตายจะทำให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ของบุคคลที่ตายนั้นกลายเป็นมรดก และความตายอันเดียวกันนั้นเองก็อาจจะเป็นเหตุทำให้ผู้ตาย ได้ทรัพย์สินบางอย่างมาเพิ่มหลังจากที่ถึงแก่ความตายนั้นแล้วก็ได้ ซึ่งทรัพย์สินที่ได้มานั้น จะถือเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องนำมาแบ่งให้กับทายาทหรือไม่ ตรงนี้เบื้องต้นเราจะต้องพิจารณาก่อน โดยจะต้องมีการแบ่งแยกว่าสิ่งไหนเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย สิ่งไหนไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ซึ่งหากเรารู้แล้วเราก็จะสามารถจัดการทรัพย์สินเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น หลักเกณฑ์ที่เราจะรู้ได้ว่าทรัพย์สินไหนเป็นมรดก อันไหนไม่ใช่ทรัพย์มรดก เราจะใช้หลักการแบ่งแยกง่ายๆ โดยใช้ช่วงเวลาก่อนตายและหลังการตายเป็นเส้นแบ่ง ตามหลักที่ว่า ทรัพย์สินใดที่ผู้ตายได้มาก่อนตาย หรือมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตายนั้นเป็น “ทรัพย์มรดกของผู้ตาย” ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาภายหลังการตาย หรือได้มาเนื่องจากการตาย ทรัพย์สินเหล่านั้นที่ได้มาจะไม่ใช่ทรัพย์มรดกผู้ตาย ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนตายหรือมีอยู่ในขณะที่ตายนั้น ไม่น่าจะยากในการทำความเข้าใจซักเท่าไหร่ ส่วนทรัพย์สินที่ได้มาภายหลัง หรือได้มาเนื่องจากการตายที่ไม่ใช่มรดกนั้น ขอยกตัวอย่างเช่น เงินค่าทดแทนจาก การเสียชีวิต, เงินค่าสินไหมจากประกันภัย, เงินสงเคราะห์ในการจัดงานศพ, เป็นต้น
.
มรดกของผู้ตาย จะตกทอดไปยังทายาทของผู้ตาย ตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ส่วนทายาทของผู้ ตายที่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายนั้น กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ 2 ประเภทด้วยกัน คือ
.
1.ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย
2.ผู้รับพินัยกรรมของผู้ตาย
.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1603 ที่ว่า “กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิ ตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม” ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม” ทายาทโดยธรรม คือ ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ที่มีความสัมพันธ์เป็นญาติของผู้ตายโดยตรง คือ บิดามารดาของผู้ตาย ลูกของผู้ตาย คู่สมรสของผู้ตาย พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ฯลฯ โดยสิทธิในการรับ มรดกของของทายาทนั้น กฎหมายได้กำหนดให้เป็นไปตามลำดับชั้น โดยให้ลำดับชั้นที่ใกล้ชิดกับผู้ตายมากที่สุด เป็นผู้ได้รับมรดกก่อน
.
ผู้รับพินัยกรรม คือ บุคคลผู้ที่มีสิทธิรับทรัพย์มรดกของผู้ตายเป็นการเฉพาะเจาะจง เนื่องจากผู้ตายได้ทำ หนังสือพินัยกรรมกำหนดเอาไว้ก่อนตาย เพื่อให้บุคคลนั้นเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายเอาไว้ ผู้รับพินัย กรรมนี้จะเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นญาติของผู้ตาย กรณีเมื่อผู้ตายได้ทำหนังสือพินัยกรรมกำหนดยก ทรัพย์สินของตัวเองให้กับใครแล้ว จะมีผลทำให้ทรัพย์สินนั้นตกไปเป็นของบุคคลที่ระบุเอาไว้ เมื่อผู้ตายได้เสีย ชีวิตไปแล้ว
.
📌 หาใครมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความแล้วอยากปรึกษาเพื่อหาทางออกกับทนายความแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะคดีเล็ก หรือคดีใหญ่ ก็ทัก inbox มาปรึกษาได้ ทนายออนไลน์ยินดีรับคำปรึกษาจากทุกท่าน