สามีต่างชาติ ซื้อบ้าน ซื้อที่ดินเป็นชื่อภรรยาคนไทย วันหนึ่งหย่ากันไปสินทรัพย์จะแบ่งอย่างไร
สามีต่างชาติ ซื้อบ้าน ซื้อที่ดินเป็นชื่อภรรยาคนไทย วันหนึ่งหย่ากันไปสินทรัพย์จะแบ่งอย่างไร

สามีต่างชาติ ซื้อบ้าน ซื้อที่ดินเป็นชื่อภรรยาคนไทย
วันหนึ่งหย่ากันไปสินทรัพย์จะแบ่งอย่างไร
.
ใครที่แต่งงานกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะสามีชาวต่างชาติ แล้วที่ผ่านมาตลอดที่ยังครองรักกัน สามีดูแลเลี้ยงดูมาตลอดอย่างดี ซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน เป็นชื่อของภรรยาคนไทย
.
แต่วันหนึ่งทั้งคู่ต้องมีเหตุให้เลิกราหย่าร้างกัน แบบนี้ทรัพย์สินต่างๆ จะต้องทำอย่างไรต่อ ถ้าเกิดการฟ้องหย่าฝ่ายชายที่เป็นต่างชาติจะยึดทรัพย์ที่เป็นสินสมรสได้หรือไม่ วันนี้ทนายออนไลน์มีคำตอบ
.
คำตอบข้อแรก : หากทั้งสองฝ่ายตกลงหย่ากันด้วยความสมัครใจ บ้าน คอนโด และที่ดิน ที่ฝ่ายชายซื้อในชื่อของฝ่ายหญิง ซึ่งตามกฎหมายถือเป็นสินสมรส ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะได้คนละครึ่ง ยกเว้นจะมีการทำบันทึกข้อตกลงท้ายการหย่า ระบุให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของฝ่ายหญิงแต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น แม้ทั้งสองฝ่ายจะสมัครใจหย่า ฝ่ายชายก็ไม่สามารถยึดทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสดังกล่าวคืนได้
.
คำตอบข้อสอง : จากข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏเหตุการฟ้องหย่าตามที่ระบุไว้ในกฎหมายไทย ฝ่ายชายจึงไม่สามารถฟ้องหย่าฝ่ายหญิงได้ ในกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่ยินยอม
.
หากในกรณีที่ฝ่ายชายต้องการจะหย่าจริง ต้องทำอย่างไร?
คำตอบคือ ในกรณีที่ฝ่ายชายซึ่งเป็นชาวต่างชาติ จะยื่นหย่ากับฝ่ายหญิง จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
.
ข้อแรก. ต้องมีเหตุฟ้องหย่า ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงจะฟ้องหย่าได้ ตามกฎหมายกำหนดเหตุหย่าไว้ ดังนี้
.
(๑) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๒) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
……(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
…… (ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
…… (ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(๓) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(๔) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(๔/๑) สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายหรือเดือนร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(๔/๒) สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๕) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๖) สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควรหรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(๗) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๘) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
(๙) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
(๑๐) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกายทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
ข้อสอง ตามกฎหมายในประเทศของฝ่ายชาย ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ จะต้องอนุญาตให้หย่าได้ด้วย ตาม พรบ. กฎหมายขัดกัน มาตรา 27
.
According to Act on Conflict of Law Section 27 instate that ” Divorce cannot be granted by a Thai Court unless it is permitted by the respective law of nationality of each spouse. The grounds for divorce are governed by the law of the place where the action is instituted.”
.
ยกตัวอย่างเหตุที่ฝ่ายชายสามารถยกมาเป็นเหตุหย่า คือ ฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะไม่สามารถอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาได้ เกิน 3 ปี หรือภรรยาทิ้งสามีไปโดยไม่ติดต่อกับสามีเลย เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี หรือภรรยานอกใจ ส่วนสาเหตุอื่นเป็นไปตามที่กฎหมายระบุไว้ข้างต้น
.
📌 หาใครมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความแล้วอยากปรึกษาเพื่อหาทางออกกับทนายความแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะคดีเล็ก หรือคดีใหญ่ ก็ทัก inbox มาปรึกษาได้ ทนายออนไลน์ยินดีรับคำปรึกษาจากทุกท่าน