เจ้าหนี้ควรรู้ ผู้ค้ำประกันกู้ยืมตายแต่สัญญาไม่ตาย
ทายาทผู้ค้ำฯ ต้องรับมรดกหนี้ต่อ
.
น่าจะเป็นคำถามที่เจอบ่อยเช่นกันว่า ถ้าสมมุติผู้ค้ำประกันกู้ยืมเกิดวันนี้พรุ่งนี้ดันตายขึ้นมา หนี้สินที่หยิบยืมไปนั้นจะตายตามไปด้วยหรือไม่ ในฐานะเจ้าหนี้นั้นหนี้นี้จะสูญหรือเปล่า เรื่องนี้เจ้าหนี้หายห่วงได้ หากคุณมีสัญญากู้ยืมโดยมีผู้ค้ำประกันการกู้ยืม ไม่ว่าผู้ค้ำประกันจะด่วนตายจากชิงหนีไปก่อน แต่สัญญาการค้ำประกันมิได้ตามตามคนไปนะ
.
ในวันที่การทำสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันแล้ว นั่นถือว่าสัญญาดังเกล่าเป็นอันสมบูรณ์ตามกฎหมาย และสัญญาค้ำประกันไม่ได้ถูกยกเลิกได้เพราะความตายของผู้ค้ำประกัน ดังนั้นสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ ตามสัญญาค้ำประกันยังคงมีอยู่
.
ซึ่งจะต้องตกทอดไปยังทายาทเป็นกองมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600 ซึ่งเจ้าหนี้สามารถฟ้องทายาทของผู้ค้ำประกันเป็นจำเลยได้
.
ดังตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่5763/2562
.
สัญญากู้ยืมเงินที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ แม้จำเลยที่ ๑ ผู้กู้ผิดนัดและโจทก์บอกเลิกสัญญาภายหลังจากวันที่ นาย ก. ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายแล้วก็ตาม แต่เมื่อหนี้กู้ยืมยังคงมีอยู่อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ก่อนวันที่นาย ก. จะถึงแก่ความตาย และสัญญาค้ำประกันก็หาได้ระงับไปเพราะความตายของนาย ส. ไม่
.
สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาค้ำประกันที่นาย ก. ทำกับโจทก์เป็นกองมรดกของผู้ตายและตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๖๐๐ โจทก์ชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ ๓ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนาย ก. เพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนที่มีและได้รับทรัพย์สินในกองมรดกของนาย ก. ตามมาตรา ๑๗๓๔ และมาตรา ๑๗๓๗
.
แต่อย่างไรก็ตามทายาทของผู้ค้ำประกันที่ล่วงลับจะรับผิดแค่ส่วนที่ตกลงกันในสัญญาเท่านั้น เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องเกินกว่าที่รับมรดกมาได้
.
ดังนั้นขอให้เจ้าหนี้สบายใจได้ว่า ยังไงหนี้ก็ไม่สูญเปล่าแน่นอน เพราะแม้คนตายแต่สัญญายังมีผลอยู่นั่นเอง
.
หาใครมีปัญหาเกี่ยวกับคดีความแล้วอยากปรึกษาเพื่อหาทางออกกับทนายความแบบรวดเร็วทันใจ ไม่ว่าจะคดีเล็ก หรือคดีใหญ่ ก็ทัก inbox มาปรึกษาได้ ทนายออนไลน์ยินดีรับคำปรึกษาจากทุกท่าน