มั่วๆ ถึงแม้ไม่เอ่ยชื่อ แต่ชี้ชัดได้ว่าพูดถึงผู้เสียหาย ก็ฟ้องได้เช่นกัน
มั่วๆ ถึงแม้ไม่เอ่ยชื่อ แต่ชี้ชัดได้ว่าพูดถึงผู้เสียหาย ก็ฟ้องได้เช่นกัน

ด่าดาราลงโซเชียลแบบมั่วๆ ถึงแม้ไม่เอ่ยชื่อ
แต่ชี้ชัดได้ว่าพูดถึงผู้เสียหาย ก็ฟ้องได้เช่นกัน
.
การด่าทอใครลงโซเชียลตอนนี้ กลายเป็นเหมือนกับเทรนด์ไปแล้ว ที่มักจะกล่าวหาไปยังบุคคลที่ 3 เพื่อประจานลงโลกออนไลน์ โดยจะเป็นการทำให้อับอาย หรือวิจารณ์เอามันส์เหมือนที่พวกเกรียนคีย์บอร์ดมักทำกัน ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนเริ่มหัวหมอ พยามวิจารณ์คนอื่นแบบเสียๆ หายๆ แต่ไม่เอ่ยชื่อ ใช้วิธีการนำสิ่งต่างๆ ที่บุคคลนั้นเป็น หรือเกี่ยวข้องมาพูด เหมือนทำนองว่าไม่ระบุตัวตน แต่จริงๆ ก็ระบุชี้ชัด เพราะเชื่อกันว่าจะไม่สามารถถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
.
แต่ในความเป็นจริงแล้วตามข้อกำหนดของกฎหมาย สามารถฟ้องร้องผู้โพสต์หรือผู้คอมเมนต์ได้ โดยยกตัวอย่างจำลองเหตุการณ์ดังนี้
.
ดารา A ถูกชาวเน็ตคอมเมนต์ด่า โดยใส่ความว่าดารา A ไปด่าดารา B ซึ่งข้อเท็จจริงดารา A ไม่ได้ไปด่าใคร เพียงแค่โพสต์ข้อมความพูดคุยกับแฟนคลับเรื่องประเด็นข่าวดังกล่าวเท่านั้น แต่ชาวเน็ตมีการเชื่อมโยงกันเอง แล้วจงใจทำคลิปใส่ความหาว่าดารา A ด่า ดารา B
.
พอคลิปถูกเผยแพร่ออกไปบนโลกโซเชียล ก็มีคนเข้ามาคอมเมนต์ดารา A แบบเสียๆ หายๆ ด่าถึงครอบครัว ด่าหยาบคายด้วยการดูหมื่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แม้ว่าในคลิปจะไม่ได้เอ่ยชื่อดารา A โดยตรง แต่ใช้ชื่อของตัวละคร หรือชื่อผลงานของดารา A มาแทน ซึ่งเป็นชื่อที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดี มาเพื่อการทำคลิปโพสต์ด่านี้
.
สำหรับกรณีนี้ของดารา A สามารถแยกออกได้ 2 ประเด็น ดังต่อไปนี้
.
ประเด็นแรก : ผู้ที่มาคอมเมนท์ด่าดารา A โดยกล่าวหาว่าข้อความที่ดารา A โพสต์คุยกับแฟนคลับ เป็นข้อความที่ดารา A ตั้งใจด่าดารา B มีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่?

คำตอบ: หากพิจารณาข้อความที่เกิดขึ้นจากการโพสต์ของดารา A ที่เป็นเพียงการพูดคุยทั่วไปถึงข่าวของดารา B กับแฟนคลับไม่มีการระบุชื่อ ดารา B หรือข้อความอื่นใดที่สามารถสื่อถึงดารา B
.
เพราะฉะนั้น หากมีผู้คอมเม้นท์ กล่าวหาว่าดารา A ด่า ดารา B โดยอาศัยข้อความดังกล่าว จึงถือเป็นการใส่ความดารา A ต่อบุคคลที่สาม อันอาจทำให้ดารา A ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จึงเข้าข่ายกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 บัญญัติว่า

“ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
.
และ เนื่องจากเป็นการหมิ่นประมาททางโซเซียล อาจต้องรับผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 บัญญัติว่า

“ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”
.
อย่างไรก็ตามคอมเมนต์ใดจะเข้าข่ายหมิ่นประมาทต้องเป็นคอมเมนต์ที่ใส่ความทำให้ดารา A ได้รับความเสียหาย หากเป็นการด่าด้วยถ้อยคำหยาบคายอาจไม่เข้าหมิ่นประมาท แต่อาจผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ
.
ประเด็นที่สอง : คนที่ทำคลิปใส่ความกล่าวหาว่า ดารา A ไปด่า ดารา B แม้จะไม่เอ่ยชื่อก็ตามมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่?
.
คำตอบ : แม้ผู้ทำคลิปจะไม่ได้เอ่ยชื่อดารา A แต่การบอกว่า เป็นตัวละครนี้ หรือมีผลงานนี้ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นตัวของดารา A ดังนั้นการกล่าวหาว่า ดารา A ไปด่า ดารา B โดยอาศัยข้อความที่ดารา A พูดคุยกับผู้ติดตาม ที่ไม่ได้ระบุชื่อดารา B จึงถือเป็นการใส่ความดารา A ต่อบุคคลที่สาม และทำให้ดารา A ได้รับความเสียหาย จึงมีความผิดตามประมวลอาญา มาตรา 326 และเนื่องจากมีการเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 อีกด้วย
.
ประเด็นที่สาม: การกระทำของผู้คอมเมนต์ด่ากับคนทำคลิป มีความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์หรือไม่?
.
คำตอบ: หากข้อความคอมเมนต์ที่อยู่ในบริบทตามประเด็นที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นการกล่าวความเท็จ เจ้าของข้อความและเจ้าของคลิป อาจต้องรับผิด ตามพรบ.คอมพิวเตอร์ ด้วยเช่นกัน
.
สุดท้ายแม้ว่าจะไม่สามารถทราบได้ว่าผู้ที่ทำคลิปและคอมเมนต์เป็นใคร หรือเป็นเพียงอวตารที่ไหนหรือเปล่านั้น ผู้เสียหายสามารถนำหลักฐานต่างๆ ไปแจ้งความดำเนินคดีกับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ได้ ปอท.มีอุปกรณ์เครื่องมือในการติดตามตัวแม้จะเป็นเฟสปลอม ทวิตเตอร์ปลอม ก็ไม่มีทางรอด เพราะตรวจสอบได้หมดว่าใครเป็นผู้เปิดบัญชีนั่นเอง
.
ดังนั้นแม้ว่าดารานักแสดง ศิลปิน หรือแม้แต่บุคคลสาธารณะอื่นๆ จะเป็นผู้ที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่ไม่ใช่การวิจารณ์โดยการทำให้เชาหรือเธอผู้นั้นเสื่อมเสียชื่อเสียง อับอาย หรือกล่าวหาเท็จแบบไม่จริง เพราะพวกเขาก็มีสิทธิ์ปกป้องตัวเองโดยการฟ้องกลับได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนจะวิจารณ์ใครควรคิดดีๆ และไม่ควรมาแซะว่าเป็นดาราต้องวิจารณ์ได้สิ ไม่อย่างนั้นไม่ต้องเป็น เพราะสุดท้ายดาราก็คือคนๆ หนึ่งที่มีสิทธิ์ในตามกฎหมายในการดำเนินคดีได้เช่นกัน ถ้าไม่ให้เกียรติกันในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง