ยืมเงินผ่านไลน์ ผ่านแชทแล้วไม่คืน ฟ้องได้!
ยืมเงินผ่านไลน์ ผ่านแชทแล้วไม่คืน ฟ้องได้!

ยืมเงินผ่านไลน์ ผ่านแชทแล้วไม่คืน ฟ้องได้!
แค่แชทแล้วโอน ก็เป็นหลักฐานพอแล้ว
.
สมัยนี้การที่จะยืมเงินใครไม่ใช่เรื่องยาก โดยเฉพาะกับเพื่อนกับฝูงกับคนรู้จัก ที่มักจะมีคนชอบทักแชท ทักไลน์ หรือทักข้อความไปยืมเงินกัน ตอนมาขอยืมก็แทบจะอ้อนวอนสารพัน จะโดนไล่ออกจากห้องเช่าบ้าง ลูกไม่ได้กินนมบ้าง ไม่มีเงินไปจ่ายหนี้บ้าง และ ฯลฯ รับปากอย่างดิบดีกว่าจะรีบคนแน่ๆ ไม่เบี้ยว ไม่หนี และมีให้จ่ายชัวร์ ถ้าทะลุหน้าจอไปกอดแข้งกอดขาได้ก็คงทำไปแล้ว
.
แต่พอใจอ่อนโอนให้ปุ๊บพร้อมส่งหลักฐานการโอน ได้เงินไปใช้ แต่พอทวงถามตามคืนกลับบ่ายเบี่ยงบ้าง ไม่ยอมจ่ายบ้าง ตีมึนหนีหาย ทวงไปก็โดนด่ากลับมาอีก แถมบางรายหนักสุดคือท้าทายให้ไปฟ้องร้องเอาคืนก็มี แถมยังบอกว่าไม่มีการเซ็นเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรฟ้องเอาผิดไม่ได้ (หัวหมอไปอีก)
.
แต่ช้าก่อน เจ้าหนี้ลูกหนี้ทั้งหลาย ไม่ใช่ว่าไม่มีสัญญากู้ยืมแล้วจะฟ้องไม่ได้ เพราะตามกฎหมายแล้วมันฟ้องได้
.
การกู้ยืมเงินโดยส่งข้อความ ผ่านแอพพลิเคชัน ไลน์ เฟสบุ๊ก หรือช่องทางใดๆ ก็ตาม ไม่จำเป็นที่ผู้กู้และผู้ให้กู้จะต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานลายลักอักษณ์แต่อย่างใด
.
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ระบุชัดเจนว่า ข้อความที่รับ ส่ง กัน ถือให้เป็นหนังสือ เป็นลายมือชื่อ ที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
.
เพราะฉะนั้น ถ้ามีการพิมพ์ข้อความในเชิงที่แสดงเจนาชัดเจนว่าต้องการกู้ยืมเงิน และมีการโอนเงินเข้าบัญชีเรียบร้อย ถือว่า การกู้นั้นสมบูรณ์ สามารถนำมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องคดีได้ หากมีการติดตามทวงถามแล้วถูกปฏิเสธการชำระเงินกู้ยืมคืนให้กับเจ้าหนี้
.
ที่สำคัญคือข้อความทุกๆ ตัวอักษรที่เกิดขึ้นระหว่างการแชทที่เกี่ยวข้องกับกับกูยืมเงินนั้น สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องต่อศาลได้ หากถึงขั้นต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันจริงๆ โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับการยืมเงิน ซึ่งข้อกฎหมายกำหนดว่า ข้อความสนทนาในการขอกู้ยืมเงินเกิน 2,000 บาท ผ่านการ แชท (Chat) บนระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อออนไลน์นั้นสามารถใช้เป็นหลักฐานสำหรับการกู้ยืมเงิน เป็นหนังสือหรือเอกสารหลักฐานในการฟ้องคดีตามกฎหมายได้ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ฯ กล่าวถึง “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่น ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น”
.
ดังนั้นจะให้ใครยืมเงินอย่าลืมเก็บหลักฐานการกู้ยืมเงินด้วยดังนี้
.
1.ข้อความแชท (Chat) ที่มีการสนทนาถึงการกู้ยืมเงิน ยอดเงิน รูปโปรไฟล์ของผู้ยืมผ่านแอปพลิเคชัน (แคปเก็บไว้ด้วย)
.
2.บัญชีผู้ใช้ของผู้ยืมเงิน (Account) ซึ่งจะต้องเป็นของทั้งคู่สนทนา ที่เห็นภาพโปรไฟล์และชื่อของทั้งคู่อย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบได้
.
3.หลักฐานการโอนเงิน (Slip) เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะในสลิปจะระบุข้อมูลชัดเจนว่าเราโอนเงินไปให้ใคร ทั้งชื่อเจ้าของบัญชี ชื่อธนาคาร/สาขา ยอดเงินกู้ยืม วัน/เวลาการทำธุรกรรม ซึ่งจะต้องชัดเจน
.
หากมีหลักฐานเพียงเท่านี้ก็สามารถฟ้องต่อศาลได้เลยหากถูกเบี้ยวหนี้ ซึ่งการฟ้องร้องคดีความตามกฎหมายจะต้องดำเนินการภายใน 10 ปี นับแต่วันถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน ตัวอย่างเช่น การกู้ยืมเงิน ระหว่าง A และ B มีการคุยสนทนาขอกู้ยืมเงิน จำนวน 5,000 บาท มีกำหนดชำระคืนเงิน วันที่ 1 มกราคม 2564 แต่ไม่ชำระ ดังนั้นจะต้องมีการฟ้องร้องภายในวันที่ 1 มกราคม 2574 ภายในระยะเวลา 10 ปี
.
ส่วนการกู้ยืมเงินที่มีการระบุเป็นสัญญาที่มีการกำหนดให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ นั้นมีอายุความเพียง 5 ปี